วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แบบฝึกหัด

1.จำนวนพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุล CH4 , SiCl4 , NaCl , NH3 เป็นกี่พันธะมีค่าเรียงตามลำดับ  คือข้อใด
   ก. 4 , 4 , 0 , 3     ข. 6 , 3 , 1 , 0       ค. 4 , 3 , 0 , 3      ง. 5 , 4 , 1 , 0
2. พันธะเดี่ยว หมายถึงอะไร
    ก. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่
    ข. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่
    ค. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่
    ง. พันธะที่เกิดจากการใช้์อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวร่วมกัน 1 คู่
3. ธาตุในข้อใด เกิดพันธะโคเวเลนต์กับธาตุคลอรีนได้ดีที่สุด
    ก. Na                ข. Ra             ค. C                 ง. Cs
4. สมบัติทางกายภาพในข้อใด ที่ใช้อธิบายสมบัติทางเคมีของอโลหะ
    ก. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมใหญ่ สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อย
    ข. พลังงานไอออไนเซชันต่ำ ขนาดอะตอมใหญ่ อิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ
    ค. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อย
    ง. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก อิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง
5. ธาตุ Z มีพลังงานไอออไนเซชันตั้งแต่ลำดับที่หนึ่งถึงลำดับที่ 8 เป็นดังนี้ 1.320, 3.395, 5.307, 7.476, 10.996, 13.333, 71.343, 84.086 ธาตุ Z มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่าใด
    ก. 1                ข. 4                ค. 6                ง.

คำนวณพลังงานพันธะ



การคานวณพลังงานของปฏิกิริยา Enthalpy ( DH° )
2. พลังงานพันธะ (Bond energy) • ปริมาณพลังงานที่นอยที่ส ุดที่ใช้เพื่อสลายพันธะระหว่างอะตอมภายในโมเลก ุล ้ (ในสถานะแก๊ส) เพื่อให้เปนอะตอมเดี่ยว โดยคิดจากค่าพลังงานพันธะเฉลี่ย ็ H H H H H H-H = 436 kJ/mol H Cl Cl H-Cl = 431 kJ/mol  (อ่านเพิ่มเติม) 

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ความยาวพันธะและพลังงาน




  การสร้างพันธะเคมีเป็นกระบวนการที่จะทำให้อะตอมมีความเสถียรขึ้นกว่าเดิม  ความเสถียรมีความสัมพันธ์กับระดับพลังงานของอะตอม  อะตอมที่มีพลังงานต่ำจะเสถียรกว่าอะตอมที่มีพลังงานสูง      การสร้างพันธะเคมีจะเกิดขึ้นพร้อมการคายพลังงานจำนวนหนึ่งออกมา  (อ่านเพิ่มเติม)

การเขียนสูตรและการเรียกชื่อสารโคเวเลนต์

 สารประกอบโคเวเลนต์เป็นโมเลกุลของสารที่เกิดจากอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาสร้างพันธะโคเวเลนต์ต่อกันด้วยสัดส่วนต่าง ๆ กัน ทำให้เป็นการยากในการเรียกชื่อสาร จึงได้มีการตั้งกฎเกณฑ์ในการเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ขึ้น (อ่านเพิ่มเติม)

พันธะโคเวเลนต์

จากการศึกษาข้อมูลพบว่า น้ำตาลทราย เอทานอลหรือแก๊สไฮโดรเจน มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ เมื่อละลายในน้ำแล้วสารละลายที่ได้ไม่นำไฟฟ้า แสดงว่าสารกลุ่มนี้ละลายน้ำแล้วไม่แตกตัวเป็นไอออน ดังนั้นสารเหล่านี้คงไม่มีไอออนบวกและไอออนลบเป็นองค์ประกอบ (อ่านเพิ่มเติม)

สมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบ




  จากการศึกษาการจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ ช่วยให้ทราบว่าตารางธาตุในปัจจุบันจัดธาตุเป็นหมู่และเป็นคาบโดยอาศัยสมบัติบางประการที่คล้ายกัน สมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบซึ่งได้แก่ ขนาดอะตอม รัศมีไอออน พลังงาน ไอออไนเซชัน อิเล็กโทรเนกาติวิตี สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน จุดหลอมเหลวและจุดเดือด และเลขออกซิเดชัน (อ่านเพิ่มเติม)

วิวัฒนาการของการสร้างตารางธาตุ




ภายหลังการค้นพบธาตุต่างๆ และศึกษาสมบัติของธาตุเหล่านี้  นักวิทยาศาสตร์ได้หาความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติต่างๆ ของธาตุและนำมาใช้จัดธาตุเป็นกลุ่มได้หลายลักษณะ ในปี พ.ศ.2360 (ค.ศ. 1817) โยฮันน์ เดอเบอไรเนอร์เป็นนักเคมีคนแรกที่พยายามจัดธาตุเป็นกลุ่มๆ ละ 3 ธาตุตามสมบัติที่คล้ายคลึงกันเรียกว่า ชุดสาม (อ่านเพิ่มเติม)